Veggie

Lilypie Date is set Ticker

Monday, April 30, 2007

Chris Omprakash Sharma



9a+ คือเลขความยากของหน้าผาที่ผู้ชายคนนี้ทำไว้ได้ ถือว่าเป็นนักปีนที่น่ายกย่องอีกคนของโลกในความคิดของผม คริสเกิดที่ Santa Cruz, California

เริ่มปีนตั้งแต่อายุ 12 ขวบพออายุ 14 ตาหมอก็ชนะการแข่งขัน Sport Climbing Nationals และอีกหนึ่งปีคริสก็ทำการปีนผาระดับ 5.14c ที่ชื่อ
Necessary Evil ใน Arizona's ได้สำเร็จซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางการปีนที่หินมากแห่งหนึ่งในอเมริกาและปีนี้เองคริสก็ได้ตำแหน่งรองแชมป์โลกมา ครอง
ข้ามมาปี 2001 คริสสร้างความมหัศจรรย์ด้วยการทำโปรเจค Realization หรือ Biographie สำเร็จโดยจุดปีนนี้ถือเป็นจุดปีนที่มีระดับความยาก 5.15a หรือ 9a+ ที่แรกของโลกแต่เรื่องระดับความยากของโปรเจคนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่อย่าไปสนใจมันเลยถ้าใครอยากดูการปีนที่แสนสวย งามตามมาดูได้ที่นี่ครับ
Chris Sharma Climbs Realization - Google Video

โดยผมว่ามันเหมือนปีนกระดานอ่ะทำไปได้ไงโดยเฉพาะสิบ move สุดท้ายโอ้สพลังทั้งนั้น
ยังไม่พอปี 2006 คริสทำโปรเจคยากอีกอันโดยเป็นการปีนแบบ deep water solo โดยเป็นการปีนใต้โค้งของช่องผาสูง 65 ฟุตที่ประเทศสเปนโดย โปรเจคนี้ทำให้มนุษย์แมงมุมอย่างคริสต้องปีนถึง 50 ครั้งกว่าจะผ่านไปได้และเส้นทางนี้ยังไม่ถูกจะระดับความยาก
เอาแค่นี้ก่อนละกันครับดู Realization แล้วจะหนาว

Monday, April 16, 2007

การปีนแบบ Bouldering

การปีนแบบ Bouldering หรือไต่ตามขอบที่สูงไม่เกิน 4 เมตรหรือ 12 ฟุตเป็นการปีนแบบสั้นๆที่แสนสนุกเพราะจะได้ฝึกทักษะการปีนที่จำเป็นเช่นการรักษาสมดุล ฝึกจับ การก้าวขาและการปีนแบบนี้ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยมีแค่เพียง รองเท้า ถุงชอร์ค และ เบาะรองตกในบางกรณี


การ set เส้นทางการปีนจะต้องไม่เกิน 10 move โดยที่ move เหล่านั้นต้องเป็น move ที่ทรงพลัง ใช้เทคนิค




ส่วนประกอบอีกอย่างที่สำคัญคือคนชี้จุด ประเป็นคนคอยประคองนักปีนในกรณีที่ move นั้นๆมีอันตรายเช่นการทำ sit start หรือ move ที่อยู้บริเวณ over hang หรือ มีการกระโดด นอกจากนี้ยังช่วยชี้จุดในการทำ move ต่อเนื่องต่างๆในกรณีที่นักปีนอยู่ในท่าที่ไม่สามารถเห็นจุดต่อ move ได้



Sunday, April 15, 2007

รองเท้าปีนเขา รองเท้าบัลเล่ บนหน้าผา

วันนี้ว่างครับเพราะสงกรานต์พอดีไปไหนไม่ได้ด้วยเพราะเมียท้อง แพ้ท้องเยอะด้วยเลยได้ทีเขียนต่อเรื่องรองเท้าปีนเขา หลายคนอาจงงว่าทำไมต้องซื้อรองเท้าชนิดพิเศษเพื่อกีฬา
ประเภทนี้ด้วย ใช้รองเท้าธรรมดาไม่ได้หรอมาเดี๋ยวจะเฉลยให้ฟัง

เนื่องจากการปีนหน้าผาจำเป็นจะต้องเหยียบตามร่องหรือรอยแตกหรือจงอยหรือแง่งหรือรูที่อยู่บนผาและก็เป็นกรรมที่บางครั้งขนาดของไอ้ที่เราจะเหยียบมันใหญ่ไม่เกิน
เหรียญบาท เล็กจริงๆ ทำให้ไม่สามารถยืนได้เต็มเท้า ดังนั้นอวัยวะ เดียวที่สามารถทิ้งน้ำหนักไว้ได้คือ นิ้วหัวแม่ตีนครับ และลองนึกภาพถ้าเราจะเหยียบลงบนเหรียญแล้วดัน
ใส่ converse คู่โปรดซึ่งปกติมีช่องว่างระหว่างปลายรองเท้ากับนิ้วหัวแม่ตีนประมาณ 2 cm มันจะอยู่ไหมคำตอบคือ ไม่รอด

รองเท้าปีนผาจึงถูกออกแบบมาให้แก้ปัญหาเหล่านี้โดยเมื่อใส่ลงไปจะรู้สึกว่าเป็นหนัง กำพร้าหนา สองเซ็นหุ้มตีนเราอีกทีโดยจะมีหน้าตาประหลาดแบบนี้ครับ

ส่วนประกอบที่สำคัญมีเก้าประการดังภาพด้านล่างนี้ครับ แต่ขี้เกียจอธิบายหมดเอาไปสามสี่อย่างพอ

1Rubber พื้นรองเท้าจะเป็นยางที่ยืดหยุ่นดีเพื่อใช้ในการดันตัวติดกับหน้าผา และป้องกันการบาดกับเหลี่ยมหิน

4. Heel Rand.ผมเรียกที่รองส้นเท้าส่วนบนใกล้ๆเอ็นร้อยหวายต้องมีความหนาเกือบเท่าพื้นรองเท้าเพราะจำเป็นเวลาที่นักปีนต้องเกี่ยวตัวกับแง่งหินด้วยส้นเท้าด้านบนเช่น
ท่ากางเขนนรก เพราะน้ำหนักตัวจะถูกทิ้งไว้ที่ส้นเท้าบนทั้งหมด

อีกส่วนไม่มีในรูปคือปลายเท้าจะหนากว่าพื้นสองเท่าเพราะเป็นส่วนที่ถูกใช้งานมากที่สุด สึกหรอมากที่สุด ปลายรองเท้าจะต้องแทบจะพอดีกับเท้าของเรา ดังนั้นเวลาซื้อรองเท้าปีนเขา มักจะต้องซื้อให้เล็กกว่าเท้า หนึ่งถึงสองเบอร์ และปล่อยให้มันยืดเข้าหาเท้าเอง